07 กรกฎาคม 2552

แป้งข้าวหมาก : ของดีบ้านเรา

...สืบสานตำนาน การทำแป้งข้าวหมาก





ข้าวหมาก( A sweetmeat consisting of fermented glutinous rice)



อาหารบ้าน ๆ แต่สร้างรายได้
รสชาติอร่อยถูกใจใครหลาย ๆ คน



เมื่อพูดถึงแป้งข้าวหมาก บางคนรู้จัก แต่ก็มีอีกเยอะเหมือนกัน ที่ไม่รู้ว่าแป้งข้าวหมากคืออะไร



ข้าวหมากเป็นอาหารหมักดอง ชนิดหนึ่ง ทำจากข้าวเหนียว ซึ่งในการทำนั้นจะใช้



"ลูกแป้งข้าวหมาก" (Yeast cake made in Thailand)



(จะสังเกตว่า เขาใช้ ว่า made in Thailand อิอิ น่าภาคภูมิใจนะเนี่ย ของไทย ๆ คับพี่น้อง)




---------- ลูกแป้งข้าวหมากหน้าตาเป็นแบบนี้ มีลักษณะเป็นก้อนแป้งครึ่งวงกลม คล้ายขนม สีขาว น้ำหนักเบา


ในลูกแป้งข้าวหมาก มีเชื้อรา


สกุล Mucor sp.


Amylomyces sp.


ซึ่งสามารถสร้างเอนไซม์ อะไมเลส ออกมาย่อยแป้งให้กลายเป็นน้ำตาล


น้ำตาลมีความหวานประมาณ 30-40 องศาบริกซ์


(ปริมาณน้ำตาลคิดเป็นกรัม ของน้ำซูโครส ต่อ 100 มิลลิลิตร


การหมักในช่วย 1-2 วันแรก รสจะไม่ค่อยหวานเท่าไหร่ เพราะการย่อยยังไม่สมบูรณ์


หลังจากนี้รสจะหวานมากขึ้น และถ้าหมักไว้นาน ๆ ...........



ต่ำกว่า 18 ห้ามอ่านนะคะ


ถ้าหมักไว้นาน ๆ จะมีกลิ่นแอลกอฮอล์ เนื่องจากมียีสต์ ในสกุล


Saccharomyces sp.


หมักน้ำตาลให้กลายเป็น แอลกอฮอล์



------------- กินเยอะ ก็จะกลายเป็นแบบนี้ ไม่ดี ๆ นะจ๊ะ



แต่หากต้องการเก็บรสหวาน ๆ ไว้นาน ก็สามารถเก็บใส่ตู้เย็นไว้ได้
ยายบอกว่า ข้าวหมาก แช่ให้เย็นจัด ๆ กินตอนเที่ยง ๆ
อร่อยอย่าบอกใครเชียว
ใครลองแล้ว รสชาติ เป็นไง ก็อย่าลืมมาบอกกันด้วย




24 มิถุนายน 2552

วิลเลียม เจมส์ : นักคิดแห่ง ทฤษฎี ปฏิบัตินิยม

"อย่าหวาดกลัวชีวิต จงเชื่อมั่นว่า ชีวิตมีค่าควรแก่การดำรงอยู่แล้ว ความเชื่อของคุณ จะช่วยให้เป็นจริงตามนั้น"

เมื่อมนุษย์พยายามหาสิ่งอื่นทดแทนสิ่งเหนือธรรมชาติ จึงเกิดความขัดแย้งในทางความคิด ซึ่ง ณ จุดนี้เองทำให้ความคิดแบบวิทยาศาสตร์เริ่มเจริญขึ้น ความคิดแบบเทวนิยมค่อย ๆ เสื่อมลง

จอห์น ดิวอี้ เชื่อว่า สิ่งเดียวที่มนุษย์สามารถทำได้คือ การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ และใช้สติปัญญาของตนจัดการ แกไขสถานการณ์นั้น เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นมา ขณะเดียวกันเราไม่สามารถคาดหมายหรือทำนายว่าความสำเร็จในอนาคตนั้นจำเป็นต้องเกิดขึ้น

วิลเลียม เจมส์ เชื่อว่า ความคิดทั้งหลายทางปรัชญาสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ให้ผลได้จริงในประสบการณ์ของเราในอนาคต
คำว่า “เชิงปฏิบัติ (Pratical)” เขาหมายถึงสิ่งที่จับต้องได้ มีลักษณะเป็นสิ่งเฉพาะ และมีผลตามต้องการ
จึงตรงข้ามกับสิ่งที่เป็นนามธรรม มีลักษณะทั่วไปและไม่ก่อผล

“ทัศนะของเจมส์” ปรัชญามีหน้าที่ของตนเอง คือ การหาทางที่จะทำให้ความคิดของคนเราไป
ด้วยกันได้ ไม่ยึดมั่นในระบบใดระบบหนึ่งอย่างตายตัว
ดังนั้นเราจึงมีทางเลือกเสมอไม่ว่าจะใช้ทฤษฏีใด
นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า
ปฏิบัตินิยมเป็นวิธีที่ทำให้ความคิดแจ่มแจ้ง ซึ่งจะทำให้เราสามารถกำหนดรู้ ความหมายของความคิดนั้นได้
โดยการทดลองนำความคิดนั้นมาปฏิบัติ และดูผลที่เกิดขึ้นเป็นหลักสำคัญ

ปฏิบัตินิยม คล้ายกับ ประสบการณ์นิยม คือ สนใจสิ่งที่ทดสอบได้ด้วยประสาทสัมผัส เน้นเรื่องข้อเท็จจริง มุ่งไปที่การกระทำ

เปลี่ยนแปลงทัศนคติบางอย่างของปรัชญา คือ
ลดความเป็นนักเหตุผลนิยมที่รุนแรงลง

วิทยาศาสตร์และอภิปรัชญาเข้าใกล้กันมากขึ้น

ทฤษฏีต่าง ๆ ที่อธิบายโลกและจักรวาลถูกนำมาใช้

ไม่หยุดที่ทฤษฏีใดทฤษฏีหนึ่ง

ให้ทฤษฏีทั้งหลายเป็นเครื่องมือเพื่อทำให้เข้าใจโลกธรรมชาติ

การนำปฏิบัตินิยมไปแก้ปัญหา

1. มีกระบวนการพิสูจน์ ความจริง พิสูจน์ให้เห็นจริง สามารถอธิบายได้ และก่อให้เกิดผลหรือ ประโยชน์ในประสบการณ์ของเรา
2. มีกระบวนการนำทาง ความคิดที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์แล้ว จะต้องสามารถเชื่อมโยงไปอธิบายเรื่องอื่นได้

ความรุ้ทางวิทยาศาสตร์เมื่อผ่านการพิสูจน์(ทดลอง)แล้ว สามารถใช้อธิบายเรื่องราว หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ได้

ปฏิบัตินิยม หากเชื่อแล้ว ปรากฏว่ามีหลักฐานใหม่ หรือข้อพิสูจน์ใหม่ ความเชื่อเหล่านั้นก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน หากมีการค้นพ้นหลักฐาน หรือข้อพิสูจน์ใหม่ ๆ ความรู้นั้น ๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน เช่น เมื่อก่อนเราเชื่อว่าโลกแบน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการนำเสนอหลักฐานการค้นพบใหม่ ๆ ทำให้ความคิดที่ว่าโลกแบน เวลาเดินตรงไปเรื่อย ๆ อาจจะตกขอบโลก ถูกแทนที่ด้วยความรู้ใหม่ทีว่า โลกกลม

เจมส์ มองโลกแบบพหุนิยม แต่ก็สามารถมองโลกในแง่ของความเป็นหนึ่งแบบปฏิบัตินิยม

ความเชื่อ ความศรัทธา ทางศาสนา ก็ถือเป็นวิทยาศาสตร์ คือมีการตั้งสมมุติฐาน แต่สมมุติฐานในการศรัทธาสิ่งใดนั้น ต้องอาศัยการทดลองเป็นระยะเวลานาน ไม่สามารถอ้างเหตุผลทางตรรกะมาพิสูจน์ความจริงในศาสนาได้
เจมส์ ยังคงยืนยันว่า ความหมายของ ความคิด ได้รับการค้นพบเพียง ในภาคของบทสรุปที่ เป็นไปได้เท่านั้น หากบทสรุปไม่เพียงพอ ความคิด ก็ไร้ความหมาย เจมส์ยืนยันว่า สิ่งนั้น เป็นวิธีที่ นักวิทยาศาสตร์ ใช้ในการนิยามหัวข้อ และ เพื่อทดสอบ สมมติฐานของ พวกเขา ซึ่ง อาจจะเป็น คำทำนาย ที่มีความหมาย และ ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้

เจมส์เชื่อในหลักปฏิบิตนิยมมากกว่า แต่เขาก็กล่าวว่า หลักการแบบปฏิบัตินิยมจะไม่สามารถปฏิเสธสมมุติฐานใด ๆ ได้ ถ้าผลที่เกิดจากสมมุติฐานนั้น มีประโยชน์ที่จะทำให้ชีวิตดำเนินอยู่ต่อได้



แหล่งข้อมูล www.infoplease.com





21 มิถุนายน 2552

ความรู้ที่แท้จริงเกิดจากการปฏิบัติ ….ความรู้ที่ดีที่สุดเกิดจากประสบการณ์

ความรู้ที่แท้จริงเกิดจากการปฏิบัติ ….ความรู้ที่ดีที่สุดเกิดจากประสบการณ์

ความรู้ ความรู้ ความรู้ คืออะไร........................ ตั้งแต่เราจำความได้จนถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าเชื่อว่า ข้าพเจ้ามีความรู้มากมาย แต่ความรู้เหล่านั้น ข้าพเจ้าได้มาอย่างไรล่ะ แล้วการที่เราจะได้รับความรู้ที่แท้จริง หรือความรู้ที่ดีที่สุด ความรู้เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ความรู้ คือความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ ความรู้คือ สิ่งที่มนุษย์สร้าง ผลิต ความคิด ความเชื่อ ความจริง ความหมาย โดยใช้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตรรกะ แสดงผ่านภาษา เครื่องหมาย และสื่อต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นไปตามผู้สร้าง ผู้ผลิตจะให้ความหมาย ความรู้มีโครงสร้างอยู่ 2 ระดับ คือ โครงสร้างส่วนบนของความรู้ ได้แก่ Idea ปรัชญา หลักการ อุดมการณ์ โครงสร้างส่วนล่างของความรู้ ได้แก่ ภาคปฏิบัติการของความรู้ ได้แก่องค์ความรู้ที่แสดงในรูปของ ข้อเขียน สัญญะ การแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ศิลปะ การเดินขบวนทางการเมือง โครงสร้างส่วนล่างของความรู้ มีโครงสร้างระดับลึกคือ ความหมาย (significant) ไอน์สไตน์ เคยพูดว่าประสบการณ์คือความรู้ที่แท้จริง (experience is real knowledge) ทำไมไอน์สไตย์จึงกล่าวเช่นนี้นั้น........... เพราะไอนสไตน์ได้คิดค้นทฤษฎีหลายอย่างโดยอาศัยคณิตศาสตร์ล้วนไม่ได้เริ่มจากการทดลองปฏิบัติ แต่สิ่งที่ไอน์สไตน์ได้คิดไว้ มีผู้นำไปใช้หรือพิสูจน์ให้เห็นจริงภายหลัง ที่เห็นได้ชัดคือทฤษฎีสัมพันธภาพที่ไอนสไตน์สามารถที่จะพัฒนาสูตรการเปลี่ยนกลับไปมาระหว่างสสารกับพลังงานตามสมการ E = m c2 เป็นสูตรที่ใช้คำนวณหาพลังงานจากสสาร แต่คนที่นำสูตรนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติไม่ใช่ไอนสไตย์ เช่นการทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูสำเร็จเป็นครั้งแรกโดยเอนริโก เฟอร์มิ และต่อมาก็มีผู้นำไปประยุกต์ใช้สร้างระเบิดนิวเคลียร์ จะเห็นว่าการนำไปใช้ในทางปฏิบัตินั้นเป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะสามารถพิสูจน์ยืนยันการค้นพบทางทฤษฎี และนำไปใช้ได้จริง นักเรียนพิการเรียนร่วมโรงเรียนบสันติราษฏร์วิทยาลัยในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาฝึกสอน โรงเรียนสันติราษฏร์วิทยาลัย ข้าพเจ้ามีโอกาสได้สอนนักเรียนที่มีความพิการด้านสายตา ความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ที่เขาได้รับนั้น เกิดจากการที่เราบอก หรือเล่าให้เขาฟัง เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า เขาไม่มีโอกาสได้รับทั้งความรู้ที่แท้จริง เพราะขาดทักษะในการปฏิบัติ และไม่สามารถมองเห็นได้ ทำให้ขาดการเรียนรู้และการรับความรู้จากการมองเห็น แต่ก็มีเหมือนกันที่บางครั้งนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น สามารทำคะแนนการสอบวิชาต่าง ๆ ได้ดีกว่านักเรียนที่พร้อมทุกอย่าง เพราะว่านักเรียนเหล่านี้ มีความพยายาม เมื่อเห็นว่าตัวเองไม่พร้อมเท่าไหร่ ก็จะมีความพยายามมากเท่านั้น แต่ข้าพเจ้าก็เชื่อว่า เขาสามารถได้รับความรู้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เขาสามารถเดินได้ทั่วทั้งบริเวณโรงเรียน เพราะเขาได้ลองเดิน ลองปฏิบัติหลายรอบแล้วทำให้เขามีความชำนาญ รู้ว่าเส้นทางไหนเดินได้ ปลอดภัย ทางไหนไม่ปลอดภัย ข้าพเจ้าคิดว่าความรู้ที่เราเรียนและได้รับอยู่ทุกวันนี้เป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะมีคนศึกษาหรือค้นพบไว้แล้ว เราแค่นำมาปฏิบัติ ทดสอบ ทดลอง และทำความเข้าใจกับความรู้นั้น ๆ และเผยแพร่ต่อไป โดยการสอนนักเรียนของเรา แต่ความรู้ที่ดีที่สุดจะต้องเป็นความรู้ที่เกิดจากการใช้ประสบการณ์ของเราเอง คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์จนเกิดเป็นความรู้ หรือเป็นแนวคิดใหม่ ๆ ที่เราเองสามารถนำมาใช้ในชีวิตของเราเอง

ความแตกต่างของผู้หญิงกับผู้ชาย























13 มิถุนายน 2552

แวะทักทาย

ความรู้ใหม่ เพิ่งเริ่มต้น อย่าลืมฝึกฝน และเผื่อแผ่คนอื่น ๆ ...